หลักสูตรห้องเรียนพิเศษ

หลักสูตรสำหรับพัฒนาและส่งเสริมผู้มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์

 เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (SMTE)

1. ปรัชญาและวัตถุประสงค์การจัดการศึกษา
          จัดการศึกษาแบบบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และ เทคโนโลยีโดยยึดผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อให้ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มตามศักยภาพเป็นรายบุคคล เน้นทักษะการคิดระดับสูง ด้านกระบวนการแก้ปัญหา การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดสร้างสรรค์ โดยให้มีความสามารถในการสืบเสาะหาความรู้ได้ด้วยตนเองอย่างเป็นระบบ และมีคุณธรรมจริยธรรม

2. โครงสร้างหลักสูตร
          การจัดสาระการเรียนรู้และหน่วยกิตของสาระการเรียนรู้รายวิชาพื้นฐานและเพิ่มเติม ให้เป็นไปตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ของกระทรวงศึกษาธิการ โดยเพิ่มวิชาภาษาอังกฤษให้เข้มข้นมากขึ้น และจัดสอนรายวิชาเพิ่มเติมเน้นด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี

จากรายวิชาเพิ่มพูนประสบการณ์ซึ่งประกอบด้วยสาระการเรียนรู้ กลุ่ม และ กิจกรรม กลุ่ม ได้แก่
          1. กลุ่มสาระการเรียนรู้รายวิชาพื้นฐาน และรายวิชาเพิ่มเติมวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ การงานอาชีพและเทคโนโลยี จัดตามแนวทางของ สสวท.
          2. กลุ่มสาระการเรียนรู้รายวิชาเพิ่มพูนประสบการณ์ จัดตามความเหมาะสม และจุดเน้นตามข้อกำหนดปรัชญาห้องเรียนพิเศษและมาตรฐานสากล ตามแนวทางของ สสวท. และ สอวน.
          3. กลุ่มสาระการเรียนรู้รายวิชาเพิ่มเติมพิเศษ เป็นรายวิชาเรียนล่วงหน้า ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น 
ตามหลักสูตร สอวน. โดยจัดตามศักยภาพผู้เรียนเป็นรายบุคคล
          4. กลุ่มกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จัดตามข้อกำหนดปรัชญาห้องเรียนพิเศษและมาตรฐานสากล
3. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน  เพื่อเป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์นอกห้องเรียน ให้นักเรียนผู้มีความสามารถพิเศษที่มีความสามารถพิเศษทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี ให้ได้รับประสบการณ์ตรง จึงได้จัดกิจกรรมพัฒนา
ผู้เรียนขึ้นโดยจะยึดตามข้อกำหนดปรัชญาห้องเรียนพิเศษและมาตรฐานสากล ดังนี้
          กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่กำหนดให้นักเรียนในโครงการห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ เข้าร่วมแบ่งเป็น
กิจกรรมย่อย คือ

          1) กิจกรรมที่ต้องจัดร่วมกับนักเรียนทุกคนในโรงเรียน
          2) กิจกรรมพิเศษเพื่อเพิ่มพูนประสบการณ์นอกห้องเรียนให้นักเรียนได้รับความรู้จากประสบการณ์ตรง

ตารางรายละเอียดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนขั้นต่ำที่นักเรียนต้องปฏิบัติ

กิจกรรม
จำนวนขั้นต่ำที่นักเรียนต้องปฏิบัติ
1. กิจกรรมที่ต้องจัดร่วมกับนักเรียนทุกคนในโรงเรียน
   1.1 โครงงานสร้างสรรค์/กิจกรรมเพื่อสังคมสาธารณประโยชน์
   1.2 แนะแนว (เน้นเสริมเส้นทางอาชีพนักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย
        กิจกรรมเสริมบุคลิกภาพตนเอง)
   1.3 กิจกรรมชุมนุม

ไม่ต่ำกว่า 60 ชั่วโมง ต่อช่วงชั้น

ไม่ต่ำกว่า 60 ชั่วโมง ต่อช่วงชั้น
ไม่ต่ำกว่า 60 ชั่วโมง ต่อช่วงชั้น
2. กิจกรรมพิเศษ
   2.1 ฝึกงาน ณ ศูนย์วิจัย/หน่วยงานวิจัย/มหาวิทยาลัย
   2.2 ค่ายวิชาการ (ค่ายวิทยาศาสตร์ ค่ายคณิตศาสตร์)
   2.3 การฟังบรรยายพิเศษ
   2.4 การศึกษาดูงาน ณ ศูนย์วิจัย/แหล่งเรียนรู้/อื่นๆ ตามความเหมาะสม
   2.5 การนำเสนอผลงาน

   2.6 อ่านหนังสือ

   ไม่ต่ำกว่า 150 ชั่วโมง ต่อช่วงชั้น



นำเสนอผลการทำโครงงานไม่ต่ำกว่า   ครั้งต่อช่วงชั้น

 ภาคเรียนละ เล่ม