รายงานโครงการ/กิจกรรม

 รายงานผลการดำเนินกิจกรรมโครงการประจำปีการศึกษา 2563 

5. ค่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ม.3,ม.6 ณ เขื่อนศรีนครินทร์ จังหวัดการญจนบุรี


4. กิจกรรมค่ายพัฒนาอัจฉริยภาพ วคทส. ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ณ เขื่อนสิรินธร จังหวัดอุบลราชธานี


3. กิจกรรมค่ายเรียนรู้ด้านแพทย์และสาธารณสุข ณ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ดูรายละเอียดคลิกที่นี่



2. กิจกรรมค่ายโครงงานวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ดูรายละเอียดคลิกที่นี่



1. กิจกรรมปฐมนิเทศนักเรียนห้องเรียนพิเศษ วคทส. ม.1 ณ โรงเรียนยโสธรพิทยาคม จังหวัดยโสธร

รายงานผลการดำเนินกิจกรรมโครงการประจำปีการศึกษา 2562 
1. ปฐมนิเทศนักเรียนห้องเรียนพิเศษ วคทส. ม.1 ณ สตรีสิริเกศ



2. กิจกรรมค่าย วคทส ม.2 ณ โรงเรียนกันทรลักษ์วิทยา จังหวัดศรีสะเกษ


3. กิจกรรมนำเสนอผลงานวิชาการ โครงงาน ม.3 ณ โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย จังหวัดศรีสะเกษ



4. อบรมหุ่นยนต์ ณ โรงเรียนปรางค์กู่



5. อบรมการใช้งานโปรแกรม GSP  ณ โรงเรียนปรางค์กู่



6. ศึกษาดูงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี



7. ทดลองวิทยาศาสตร์ ณ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี




8. ค่ายเปิดโลกท้ศน์ ม.3 ม.6 ณ เกาะแสมสาร จังหวัดชลบุรี


 รายงานค่ายเปิดโลกทัศน์  คลิกที่นี่
และกิจกรรมอื่นๆ  อีกมากมาย.........................................ค่ะ


รายงานผลการดำเนินกิจกรรมค่ายภาษาอังกฤษ 
นักเรียนห้องเรียนพิเศษ
โรงเรียนปรางค์กู่ วันที่ 20 มกราคม พ.ศ.2561






รายงานผลการดำเนินงานโครงการ ประจำปีงบประมาณ  2561
โรงเรียนปรางค์กู่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28
...............................


1. ชื่อโครงการ:  โครงการพัฒนานักเรียนห้องเรียนพิเศษ
    กิจกรรม : ประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานทางวิชาการ ม.3
2. วัตถุประสงค์
      1. เพื่อเตรียมความพร้อมด้านความรู้ สร้างความตระหนักในการเรียน การพัฒนาทักษะกระบวนการ
ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อมและภาษาต่างประเทศ การเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับนักเรียนห้องเรียนพิเศษในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28
      2. เพื่อพัฒนาอัจฉริยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ภาษาต่างประเทศ ภาษาเพื่อการสื่อสาร และเสริมสร้างประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมของนักเรียนห้องเรียนพิเศษ
      3. เพื่อพัฒนานักเรียนให้สามารถใช้ความรู้ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ
ในการสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการ และนำเสนอผลงานวิชาการ
      4. เพื่อพัฒนาห้องเรียนพิเศษให้มีความพร้อมด้านสื่อเทคโนโลยี มีอุปกรณ์การเรียนทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ที่เหมาะสม เพียงพอต่อการจัดการเรียนรู้ และห้องเรียนมีบรรยากาศที่เอื้อต่อการเรียนรู้
      5. เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

3. เป้าหมาย
3.1 ด้านปริมาณ
          1. นักเรียนห้องเรียนพิเศษระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/9 จำนวน 27 คน เข้าร่วมกิจกรรม นำเสนอผลงานวิชาการโครงงาน/วิจัย และพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม
          2. นักเรียนห้องเรียนพิเศษระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/9 มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ร้อยละ 90
3.2 ด้านคุณภาพ
          1. นักเรียนห้องเรียนพิเศษได้รับการพัฒนาด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ ประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ อย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ
          2. นักเรียนห้องเรียนพิเศษมีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีสมรรถสำคัญ
สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
          3. นักเรียนห้องเรียนพิเศษมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแสดล้อมและภาษาต่างประเทศ และสามารถเชื่อมโยงความรู้มาใช้ในการเรียนวิชาอื่นๆ การสอบแข่งขัน และการดำรงชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ
4. ระยะเวลาดำเนินการ:  กันยายน พ.ศ. 2560 15 มกราคม 2561
5. พื้นที่ดำเนินการ:  เตรียมผลงานที่โรงเรียนปรางค์กู่ นำเสนอผลงานที่โรงเรียนกันทรลักษ์วิทยา จ.ศรีสะเกษ
6. งบประมาณ งบดำเนินงานรวมทั้งสิ้น 19,416 บาท 
7. กิจกรรมการดำเนินงาน
    7.1 วางแผนการจัดโครงการ / เขียนโครงการเสนอขออนุมัติโครงการ
    7.2 ตัวแทนครูร่วมประชุมโครงการห้องเรียนพิเศษสังกัด สพม.28 จำนวน 7 โรงเรียน เพื่อวางแผนดำเนินโครงการนำเสนอผลงานวิชาการ ณ โรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย จ.ศรีสะเกษ (ระหว่างดำเนินการโครงการค่ายพัฒนาอัจฉริยภาพทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ม.2)
    7.3 ประชุมครูห้องเรียนพิเศษ วางแผนการดำเนินงานตามกำหนดการ
    7.4 เตรียมนักเรียนทำโครงงานวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ โดยคุณครูศราวุธ จรเดช ในคาบเรียนวิชาโครงงานวิทยาศาสตร์ และกำกับติดตาม เสนอแนะข้อมูลเพิ่มเติมโดยคุณครูทองพันธ์ ยงกุล และ
คุณครูวารีกุล วิทยอุดม
    7.5 นำนักเรียนเข้าร่วมโครงการในวันที่ 15 มกราคม 2561 ณ โรงเรียนสตรีสิริเกศ จังหวัดศรีสะเกษ
    7.6 สรุปรายงานผลการดำเนินงาน  
    7.7 เสนอรายงานสรุปผลการดำเนินการและการพัฒนาปรับปรุงการดำเนินการครั้งต่อไป
8. ผลการดำเนินงาน (ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ)
    เชิงปริมาณ
          นักเรียนห้องเรียนพิเศษระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/9 จำนวน 27 คน เข้าร่วมกิจกรรมนำเสนอผลงานวิชาการ โครงงาน/วิจัย คิดเป็นร้อยละ 100
    เชิงคุณภาพ
         1. นักเรียนได้พัฒนาทักษะกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษ  เทคโนโลยีและ IS
         2. นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงในการทำโครงงาน รายงานวิจัย และฝึกทักษะการตัดสินในและการแก้ปัญหาในสถานการณ์จริง
         3. นักเรียนมีทักษะชีวิต สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเป็นระบบ
         4. นักเรียนได้รับการพัฒนาด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ ประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ อย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง จากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การรับคำชี้แนะจากคณะครูผู้วิพากษ์โครงงาน/วิจัย
         5. นักเรียนห้องเรียนพิเศษมีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีสมรรถสำคัญ
สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
         6. นักเรียนห้องเรียนพิเศษมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
9. ปัญหาอุปสรรค    ผลงานนักเรียนยังไม่ดีเท่าที่ควร
10. ข้อเสนอแนะ     ผลงานวิชาการของนักเรียนทั้งรายงานวิจัย/โครงงาน ควรเป็นผลมาจากการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ โครงงาน และการเรียนการสอน IS ในภาคเรียนที่ 2 ของการเรียน ม.2          
       
                                                           
                                                                         นางสาวทองพันธ์  ยงกุล
                                                                  ตำแหน่งครู หัวหน้างานห้องเรียนพิเศษ






                             
รายงานผลการดำเนินงานโครงการ ประจำปีงบประมาณ  2561
โรงเรียนปรางค์กู่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28

...............................
1. ชื่อโครงการ :  โครงการพัฒนานักเรียนห้องเรียนพิเศษ
    กิจกรรม : เปิดโลกทัศน์นักเรียนห้องเรียนพิเศษ
2. วัตถุประสงค์
       1. เพื่อเตรียมความพร้อมด้านความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
       2. สร้างความตระหนักในการเรียน การพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม
       3. เพื่อเสริมสร้างประสบการณ์ตรงด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมของนักเรียนห้องเรียนพิเศษ
       4. เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนห้องเรียนพิเศษ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ได้มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับคณะผู้ร่วมกิจกรรม 

3. เป้าหมาย
3.1 ด้านปริมาณ
          1. นักเรียนห้องเรียนพิเศษระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/9 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/8 จำนวน 40 คน เข้าร่วมกิจกรรมเปิดโลกทัศน์ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม
          2. นักเรียนห้องเรียนพิเศษระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/9 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/8 มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ร้อยละ 90
3.2 ด้านคุณภาพ
          1. นักเรียนห้องเรียนพิเศษได้รับการพัฒนาด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ ประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ อย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ
          2. นักเรียนห้องเรียนพิเศษมีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีสมรรถสำคัญ
มีทักษะชีวิต สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
          3. นักเรียนห้องเรียนพิเศษมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และสามารถเชื่อมโยงความรู้มาใช้ในการเรียนวิชาอื่นๆ การสอบแข่งขัน และการดำรงชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ
4. ระยะเวลาดำเนินการ:  4-6 ธันวาคม พ.ศ. 2560 
5. พื้นที่ดำเนินการ: เขื่อนศรีนครินทร์ และอุทยานแห่งชาติน้ำตกเอราวัณ จังหวัดกาญจนบุรี
6. งบประมาณ งบดำเนินงานรวมทั้งสิ้น 85,920 บาท 
7. กิจกรรมการดำเนินงาน
    7.1 วางแผนการจัดโครงการ / เขียนโครงการเสนอขออนุมัติโครงการ
    7.2 นักเรียนและครูผู้รับผิดชอบกิจกรรมร่วมกันนำเสนอสถานที่แหล่งเรียนรู้ และลงมติสถานที่จัดกิจกรรมเปิดโลกทัศน์
    7.3 ประชุมครูห้องเรียนพิเศษ วางแผนการดำเนินงานตามกำหนดการ
    7.4 ครูผู้รับผิดชอบโครงการติดต่อประสานงานด้านงบประมาณ การขออนุญาตนำนักเรียนเรียนรู้นอกสถานศึกษา ประสานรถที่ใช้เดินทาง ประสานแหล่งเรียนรู้ วิทยากรผู้ให้ความรู้ ประสบการณ์ และประสานที่พัก
    7.5 นำนักเรียนเข้าร่วมโครงการ ดูแลกำกับติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานกิจกรรม
    7.6 สรุปรายงานผลการดำเนินงาน  
    7.7 เสนอรายงานสรุปผลการดำเนินการและการพัฒนาปรับปรุงการดำเนินการครั้งต่อไป
8. ผลการดำเนินงาน (ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ)
    เชิงปริมาณ
          นักเรียนห้องเรียนพิเศษระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/9 และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/8 จำนวน 40 คน เข้าร่วมกิจกรรมเปิดโลกทัศน์  คิดเป็นร้อยละ 100
    เชิงคุณภาพ : นักเรียนที่ร่วมกิจกรรมได้ความรู้และประสบการณ์ตรง และมีความประทับใจด้านต่างๆ ดังนี้
                    1) ประทับใจสถานที่จัดกิจกรรมและการทำกิจกรรมร่วมกับน้อง ๆ
                   2) ประทับใจที่ได้ร่วมกิจกรรมกับเพื่อน ๆ คณะครู คณะวิทยากร ได้รับความรู้และจิตสำนึกในการอนุรักษ์พลังงานไฟฟ้า อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
                   3) ประทับใจที่ได้ศึกษาการทำงานของระบบผลิตไฟฟ้า ความสวยงามของเขื่อนและน้ำตกเอราวัณ
                     4) ประทับใจและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9
ที่ทรงมองการไกลเห็นความสำคัญของการสร้างเขื่อน เพื่อใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิต การเกษตร และได้ประโยชน์โดยออ้อมในการผลิตพลังงานไฟฟ้าพลังน้ำ
                    5) ประทับใจในทุกสถานที่ที่ได้ไป เพราะได้เห็นในสิ่งที่ไม่เคยเห็น ได้รู้สิ่งที่ไม่เคยรู้
                    6) ประทับใจคุณครูที่ควบคุมดูแล ดูแลดีมาก
                     7) ประทับใจเรื่องที่พัก เพราะได้เรียนรู้ ประสบการณ์ในการเข้าพัก
                     8) ประทับใจที่ได้เรียนรู้ ดูสถานที่จริงในการผลิตกระแสไฟฟ้า
                    9) การจัดกิจกรรมครั้งนี้ทำให้นักเรียนห้องเรียนพิเศษมีทักษะการใช้ชีวิตร่วมกับผู้อื่นที่ดี ได้ประสบการณ์มากมายที่นำมาเล่าสู่น้องๆ ที่โรงเรียนได้
                    10) ประทับใจกิจกรรมชีววิถี เพราะได้ทดลองทำจริง สามารถนำมาใช้ประโยชน์ใน
ชีวิตประจำวัน
                    11) ประทับใจวิทยากรที่ดูแล และให้ความรู้ ประสบการณ์ดีมาก
                    12) ได้รับความรู้และประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
9. การดำเนินการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง :
9.1 ผู้ดำเนินการบริหารงานกิจกรรมอย่างเป็นระบบ คำนึงถึงความคุ้มค่า และประโยชน์ที่นักเรียน
จะได้รับ
          9.2 มีการวางแผนงานอย่างเป็นระบบ มีส่วนร่วม ดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง บนพื้นฐานความรู้ คุณธรรม
10. ปัญหาอุปสรรค  :
          10.1 ปัญหาด้านการเปลี่ยนสถานที่จัดกิจกรรมเปิดโลกทัศน์
          10.2 ปัญหาด้านการประสานงาน
 11. ข้อเสนอแนะ
          - ระยะเวลาดำเนินงานน้อยเกินไป ควรมีระยะเวลาจัดกิจกรรมมากกว่านี้

                                                               (นางสาวทองพันธ์  ยงกุล)
                                                                  ตำแหน่งครู หัวหน้างานห้องเรียนพิเศษ



ดูภาพกิจกรรมเพิ่มเติม คลิ๊กที่นี่




รายงานผลการดำเนินงานโครงการ ประจำปีงบประมาณ  2561
โรงเรียนปรางค์กู่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28
...............................
1. ชื่อโครงการ:  โครงการพัฒนานักเรียนห้องเรียนพิเศษ
    กิจกรรม : ค่ายพัฒนาอัจฉริยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม (SMTE)
2. วัตถุประสงค์
      1. เพื่อเตรียมความพร้อมด้านความรู้ สร้างความตระหนักในการเรียน การพัฒนาทักษะกระบวนการ
ทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี และสิ่งแวดล้อม การเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับนักเรียนห้องเรียนพิเศษในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28
      2. เพื่อพัฒนาอัจฉริยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม และเสริมสร้างประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมของนักเรียนห้องเรียนพิเศษ
      3. เพื่อพัฒนานักเรียนให้สามารถใช้ความรู้ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ในการสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการ และนำเสนอผลงานวิชาการ
      4. เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางวิชาการ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน

3. เป้าหมาย
3.1 ด้านปริมาณ
          1. นักเรียนห้องเรียนพิเศษระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/8 จำนวน 25 คน เข้าร่วมกิจกรรม ค่ายพัฒนาอัจฉริยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยี สิ่งแวดล้อม
          2. นักเรียนห้องเรียนพิเศษระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/8 มีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ ร้อยละ 90
3.2 ด้านคุณภาพ
          1. นักเรียนห้องเรียนพิเศษได้รับการพัฒนาด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ ประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ อย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ
          2. นักเรียนห้องเรียนพิเศษมีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีสมรรถสำคัญ
มีทักษะชีวิต สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
          3. นักเรียนห้องเรียนพิเศษมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และสามารถเชื่อมโยงความรู้มาใช้ในการเรียนวิชาอื่นๆ การสอบแข่งขัน และการดำรงชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ
4. ระยะเวลาดำเนินการ:  2-3 ธันวาคม พ.ศ. 2560 
5. พื้นที่ดำเนินการ: หอประชุมนันธพันธ์ เกาะกลางน้ำ และโรงเรียนศรีสะเกษวิทยาลัย จังหวัดศรีสะเกษ
6. งบประมาณ งบดำเนินงานรวมทั้งสิ้น 40,700 บาท 
7. กิจกรรมการดำเนินงาน
    7.1 วางแผนการจัดโครงการ / เขียนโครงการเสนอขออนุมัติโครงการ
    7.2 ตัวแทนครูร่วมประชุมโครงการห้องเรียนพิเศษสังกัด สพม.28 จำนวน 7 โรงเรียน เพื่อวางแผนดำเนินโครงการค่ายพัฒนาอัจฉริยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ณ โรงเรียน
ศรีสะเกษวิทยาลัย จ.ศรีสะเกษ ซึ่งเป็นเจ้าภาพในการจัดงาน
    7.3 ประชุมครูห้องเรียนพิเศษ วางแผนการดำเนินงานตามกำหนดการ
    7.4 นำนักเรียนเข้าร่วมโครงการ ดูแลกำกับติดตาม ประเมินผลการดำเนินงานกิจกรรม
    7.5 สรุปรายงานผลการดำเนินงาน  
    7.6 เสนอรายงานสรุปผลการดำเนินการและการพัฒนาปรับปรุงการดำเนินการครั้งต่อไป
8. ผลการดำเนินงาน (ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ)
    เชิงปริมาณ
          นักเรียนห้องเรียนพิเศษระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/8 จำนวน 25 คน เข้าร่วมกิจกรรมค่ายพัฒนาอัจฉริยภาพทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม คิดเป็นร้อยละ 100
    เชิงคุณภาพ
         1. นักเรียนได้พัฒนาทักษะกระบวนการคิดทางคณิตศาสตร์ ทักษะกระบวนการคิดทางวิทยาศาสตร์
         2. นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยการทดลอง Lab วิทยาศาสตร์
         2. นักเรียนได้ฝึกทักษะการตัดสินในและการแก้ปัญหาในสถานการณ์จริง (ควอเรียม และหอสูง)
         4. นักเรียนมีทักษะชีวิต สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเป็นระบบ
         5. นักเรียนได้รับการพัฒนาด้านความรู้ ทักษะกระบวนการ ประสบการณ์ด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม อย่างเป็นระบบ ต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ
         6. นักเรียนเรียนรู้ตามกระบวนการ STEM และการจัดทำโครงงานวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ จากวิทยากร คือ คุณครูวิสุทธิ์  คงกัลป์
         7. นักเรียนห้องเรียนพิเศษมีคุณธรรม จริยธรรม ค่านิยม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ มีสมรรถสำคัญ
สามารถเรียนรู้ด้วยตนเองและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
         8. นักเรียนห้องเรียนพิเศษมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
9. การดำเนินการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง : ผู้ดำเนินการบริหารงานกิจกรรมอย่างเป็นระบบ คำนึงถึงความคุ้มค่า และประโยชน์ที่นักเรียนจะได้รับ
10. ปัญหาอุปสรรค  -
11. ข้อเสนอแนะ
          - ระยะเวลาดำเนินงานน้อยเกินไป อยากให้นักเรียนทำการทดลองและเรียนรู้ในรูปแบบ STEM
มากกว่านี้

                                                 
                                                              นางสาวทองพันธ์  ยงกุล
                                                                ตำแหน่งครู หัวหน้างานห้องเรียนพิเศษ










รายงานผลการดำเนินงานโครงการ ประจำปีงบประมาณ  2561
โรงเรียนปรางค์กู่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28
กิจกรรมปฐมนิเทศ นักเรียนห้องเรียนพิเศษ ม.๑
วันที่ 17 มิถุนายน 2560 ณ โรงเรียนปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ
-----------------------------------------


๑.ชื่อโครงการโครงการพัฒนานักเรียนห้องเรียนพิเศษ กิจกรรมปฐมนิเทศนักเรียนห้องเรียนพิเศษ ม.1
                   โรงเรียนปรางค์กู่เป็นเจ้าภาพจัดกิจกรรม
2. วัตถุประสงค์
1) เพื่อสร้างความเข้าใจ การเตรียมพร้อมในการเรียนหลักสูตรห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์
     2) เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการปฐมนิเทศและค่ายพัฒนาศักยภาพฯ
     3) เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ และพัฒนาการด้านต่างๆ ของนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
3. เป้าหมาย
          3.1  ปริมาณ
- พัฒนานักเรียนห้องเรียนพิเศษ ม.1 โรงเรียนปรางค์กู่ ปีการศึกษา 2560 จำนวน 30 คน
     - พัฒนานักเรียนห้องเรียนพิเศษ ม.1 โรงเรียนห้องเรียนพิเศษสังกัด สพม. 28 จำนวน 221 คน
3.2 ด้านคุณภาพ
     1) เพื่อให้นักเรียนมีความพร้อมในการเรียนตามหลักสูตรห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์
     2) เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการเรียนการสอนหลักสูตรห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์
     3) เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
4. ระยะเวลาดำเนินการ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2560
5. พื้นที่ดำเนินการ: โรงเรียนปรางค์กู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ   
6. งบประมาณ งบดำเนินงานรวมทั้งสิ้น 20,000 บาท (งบของเงินรายได้ เฉพาะโรงเรียนปรางค์กู่)
7. กิจกรรมการดำเนินงาน
    7.1 วางแผนการจัดโครงการ / เขียนโครงการเสนอขออนุมัติโครงการ
    7.2 ประชุมครูและนักเรียนห้องเรียนพิเศษระดับ ม.เพื่อวางแผนการดำเนินงาน
    7.3 ประสานงานกับโรงเรียนห้องเรียนพิเศษ สังกัดสพม. 28 ในการประชุมเตรียมพร้อมดำเนินกิจกรรม
    7.4 ประสานเรื่องค่าใช้จ่าย ค่าเดินทาง ค่าลงทะเบียนร่วมกิจกรรม
    7.5 จัดทำเอกสารต่าง ๆ และข้อมูลที่จะใช้ในการประชุม จัดทำโครงการพัฒนานักเรียนห้องเรียนพิเศษ กิจกรรมปฐมนิเทศนักเรียนห้องเรียนพิเศษ ม.1 เพื่อการใช้จ่ายงบประมาณโครงการ
    7.6 แจ้งรายละเอียดการดำเนินกิจกรรมปฐมนิเทศม.และค่ายพัฒนาศักยภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์แก่ผู้ปกครองนักเรียนในวันที่ 17 มิถุนายน 2560
    7.7 ประสานวิทยากรให้ความรู้จุดประกายความคิดทางวิทยาศาสตร์ การเรียน การศึกษาต่อด้านวิทยาศาสตร์
    7.8 นัดหมายการเดินทาง การแต่งกาย การเตรียมพร้อมสำหรับร่วมกิจกรรม แล้วนำนักเรียนร่วมกิจกรรม
ปฐมนิเทศม.และค่ายพัฒนาศักยภาพทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ณ โรงเรียนปรางค์กู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ  ของนักเรียนห้องเรียนพิเศษ ม. 1 ทั้ง โรงเรียน
    7.9 เตรียมความพร้อมวัสดุ อุปกรณ์ในการดำเนินงานแต่ละฐาน ซึ่งประกอบด้วยฐานบ้านนักฟิสิกส์ เคมี
ชีววิทยา ดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ สิ่งแวดล้อม และเทคโนโลยี
    7.10 ดำเนินกิจกรรมปฐมนิเทศนักเรียนห้องเรียนพิเศษ ม. 1
    7.11 นิเทศ กำกับ ติดตามการดำเนินโครงการสรุปและประเมินผลการดำเนินกิจกรรม
    7.12 เสนอรายงานสรุปผลการดำเนินการและการพัฒนาปรับปรุงการดำเนินการครั้งต่อไป

8. ผลการดำเนินงาน (ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ)
    เชิงปริมาณ
          - นักเรียนห้องเรียนพิเศษโรงเรียนปรางค์กู่  ม.จำนวน 30 คน ได้ร่วมกิจกรรมปฐมนิเทศและค่ายพัฒนาศักยภาพทาง วิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ ทั้ง 30 คน คิดเป็นร้อยละ 100
          - นักเรียนห้องเรียนพิเศษสังกัด สพม. 28 จำนวน 221 คน ได้ร่วมกิจกรรม
    เชิงคุณภาพ
1) นักเรียนมีความพร้อมในการเรียนตามหลักสูตรห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์
2) นักเรียนแลกเปลี่ยนเรียนรู้การจัดการเรียนการสอนหลักสูตรห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์
ได้รับฟังการให้ความรู้จากนักวิทยาศาสตร์เพื่อเป็นการจุดประกายความคิด การตัดสินใจ การวางแผนการเรียน
และการดำรงชีวิต
3) นักเรียนได้เรียนรู้ ได้ทดลองร่วมกับเพื่อนๆ โรงเรียนอื่นในการร่วมกิจกรรมฐานบ้านนักคณิตศาสตร์และบ้านวิทยาศาสตร์
4) นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ และพัฒนาทักษะชีวิต
9. ปัญหาอุปสรรค
    ปัญหาในการเดินทางล่าช้าเนื่องจากนักเรียนมาไม่ตรงเวลานัดหมาย
10. ข้อเสนอแนะ
     ควรได้รับการดูแล การบริหารงานในการดำเนินกิจกรรมจากผู้บริหารมากกว่านี้    
     

                                                                    นางสาวทองพันธ์  ยงกุล
                                                                  ตำแหน่งครู หัวหน้างานห้องเรียนพิเศษ
                                                                    รายงาน ณ วันที่ 10 กันยายน 2560



ดูภาพกิจกรรมเพิ่มเติม คลิ๊กที่นี่






รายงานผลการดำเนินงานโครงการ ประจำปีงบประมาณ  2560
โรงเรียนปรางค์กู่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28
...............................

1. ชื่อโครงการ: อบรมการใช้งานโปรแกรม GSP, Photoshop นักเรียนห้องเรียนพิเศษ ม.ต้น 
     และติวคณิตศาสตร์ PAT1 นักเรียนห้องเรียนพิเศษ ม.ปลาย
2. วัตถุประสงค์
1) เพื่อให้นักเรียนห้องเรียนพิเศษ ม.ต้น มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถประยุกต์ใช้งานโปแกรม GSP ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     2) เพื่อให้นักเรียนห้องเรียนห้องเรียนพิเศษ ม.ปลาย ได้เตรียมความพร้อมสอบเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา
ในรายวิชาคณิตศาสตร์ PAT1
     3) เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ และพัฒนาการด้านต่างๆ ของนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
3. เป้าหมาย
3.1  ปริมาณ
     พัฒนานักเรียนห้องเรียนพิเศษ ม.ต้นและ ม.ปลาย ปีการศึกษา 2560 จำนวน 125 คน
3.2 ด้านคุณภาพ
     1) นักเรียนมีความพร้อมในการเรียนตามหลักสูตรห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์
โดยประยุกต์ใช้ความรู้โปรแกรม GSP ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ได้อย่างมีคุณภาพ
     2) นักเรียนมีความพร้อมสำหรับการสอบวิชาคณิตศาสตร์ PAT1
     3) ส่งเสริมให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนคณิตศาสตร์
4. ระยะเวลาดำเนินการ:  27 สิงหาคม พ.ศ. 2560
5. พื้นที่ดำเนินการ: โรงเรียนปรางค์กู่ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ      
6. งบประมาณ งบดำเนินงานรวมทั้งสิ้น 38,500 บาท 
7. กิจกรรมการดำเนินงาน
    7.1 วางแผนการจัดโครงการ / เขียนโครงการเสนอขออนุมัติโครงการ
    7.2 ประชุมครูและนักเรียนห้องเรียนพิเศษ เพื่อวางแผนการดำเนินงาน
    7.3 ประสานงานกับโรงเรียนวิทยากรติวคณิตศาสตร์ PAT1
    7.4 ประสานเรื่องค่าใช้จ่ายในการดำเนินกิจกรรม
    7.5 จัดทำเอกสารต่าง ๆ ประกอบการอบรมโปรแกรม GSP และการติว PAT1 คณิตศาสตร์
    7.6 ดำเนินการจัดกิจกรรมในวันที่ 27 สิงหาคม 2560
    7.7 นิเทศ กำกับ ติดตามการดำเนินโครงการสรุปและประเมินผลการดำเนินกิจกรรม
    7.8 เสนอรายงานสรุปผลการดำเนินการและการพัฒนาปรับปรุงการดำเนินการครั้งต่อไป
8. ผลการดำเนินงาน (ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ)
    เชิงปริมาณ
          นักเรียนห้องเรียนพิเศษ  จำนวน 125 คน ได้ร่วมกิจกรรมอบรมการใช้งานโปรแกรม GSP, Photoshop นักเรียนห้องเรียนพิเศษ ม.ต้น และติวคณิตศาสตร์ PAT1 นักเรียนห้องเรียนพิเศษ ม.ปลาย ทั้ง 125 คน คิดเป็นร้อยละ 100
     เชิงคุณภาพ
     1) นักเรียนมีความพร้อมในการเรียนตามหลักสูตรห้องเรียนพิเศษวิทยาศาสตร์คณิตศาสตร์
โดยประยุกต์ใช้ความรู้โปรแกรม GSP ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ได้อย่างมีคุณภาพ
     2) นักเรียนมีความพร้อมสำหรับการสอบวิชาคณิตศาสตร์ PAT1 มากขึ้น
     3) นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ และพัฒนาทักษะชีวิต
9. ปัญหาอุปสรรค
     - วิทยากรร่วมช่วยดูแล ให้คำปรึกษาในการจัดอบรมโปรแกรม GSP น้อยเกินไป
     - วิทยากรติว PAT1 คณิตศาสตร์ ติวแบบไม่เร้าใจ ไม่สนใจพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ทำให้นักเรียน
บางส่วนเรียนไม่ทันเพื่อน และเกิดความเบื่อหน่ายในการเรียนรู้
10. ข้อเสนอแนะ
          ควรจัดกิจกรรมในช่วงที่นักเรียนมีความพร้อมมากกว่านี้ เพราะช่วงที่จัดใกล้สอบปลายภาค นักเรียนมี
ภาระงานวิชาต่าง ๆ มาก
         
                                                                   
                                                                                นางสาวทองพันธ์  ยงกุล
                                                                                     ตำแหน่งครู หัวหน้างานห้องเรียนพิเศษ   
                                                                            รายงาน ณ วันที่ 10 ตุลาคม 2560